รูปแบบบทคัดย่อ/ บทความฉบับเต็ม

เผยเเพร่เมื่อ 10174 เข้าชม

การจัดทำต้นฉบับบทความ

 

รูปแบบและการจัดพิมพ์

 

  1. เขียนบทความด้วยภาษาไทยด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ขนาดมาตรฐาน A4
    ความยาวไม่เกิน 14 หน้า (รวมบรรณานุกรม)
  2. เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษซ้าย 1.5 นิ้ว ด้านขวา 1 นิ้ว เว้นขอบกระดาษด้านบน 1 นิ้ว และ
    ด้านล่าง 1 นิ้ว ใส่เลขกำกับทุกหน้าที่มุมขวาบน
  3. ชื่อเรื่องพิมพ์ด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนาไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
  4. ชื่อผู้เขียน หน่วยงาน และอีเมล พิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK
    ขนาด 16 ขนาดมาตรฐาน

 

รายละเอียดของบทความ ประกอบด้วย

          1.บทความวิชาการ ผู้เขียนสามารถจัดทำรูปแบบการนำเสนอได้ตามความเหมาะสมแต่เนื้อหาต้องนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจในด้านที่ทำการศึกษาที่มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ประเด็นต่าง ๆ ตามหลักวิชาการโดยมีหัวข้อประกอบด้วย

        1.1 ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนบทความ ควรเป็นชื่อเรื่องที่สั้น กระชับ ได้ใจความตรงกับเนื้อหา ตามด้วยชื่อผู้เขียนบทความ ในส่วนที่อยู่หรือสถานที่ทำงานของผู้เขียน ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ

1.2 บทคัดย่อ (Abstract) จัดทำเป็นร้อยแก้วย่อหน้าเดียว สรุปเนื้อหาสาระสำคัญของบทความ
มีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ขนาดมาตรฐาน A4

1.3 คำสำคัญ (Key words) โดยมี Key words ไม่เกิน คำ 4

1.4 บทนำ กล่าวถึงที่มา ความจำเป็นและความสำคัญของเรื่อง

1.5 เนื้อหา นำเสนอข้อมูลวิชาการหรือแนวคิดทฤษฎีที่ทำการศึกษาในประเด็นต่างๆ

1.6 สรุปผล สรุปผลที่ได้จากการบทความนี้รวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำบทความวิชาการนี้ไปใช้

1.7 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ ที่ใช้สำหรับค้นคว้าอ้างอิง ประกอบบทความ ตามที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารนี้

 

  1. บทความวิจัยและวิทยานิพนธ์ ในเนื้อหาจะต้องประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

2.1 ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนบทความ ควรเป็นชื่อเรื่องที่สั้นกระชับได้ใจความตรงกับเนื้อหา
ตามด้วยชื่อผู้เขียนบทความ ในส่วนที่อยู่หรือสถานที่ทำงานของผู้เขียน ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ

2.2 บทคัดย่อ (Abstract) จัดทำเป็นร้อยแก้วย่อหน้าเดียวสรุปเนื้อหาสาระสำคัญของบทความ
มีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ขนาดมาตรฐาน A4

2.3 คำสำคัญ (Key words) โดย มี Key words ไม่เกิน คำ 6

2.4 ความสำคัญและที่มาของปัญหา กล่าวถึงที่มาความจำเป็นและความสำคัญของเรื่องที่ทำวิจัย

2.5 วัตถุประสงค์ กล่าวถึงเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของงานวิจัยที่ต้องการศึกษา

2.6 วิธีการวิจัย ควรอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งที่มาของข้อมูล กระบวนการ
เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและระเบียบวิธีการทางสถิติ

 

2.7 ผลการศึกษาวิจัย นำเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัย ตามลำดับขั้นตอนในการวิจัย

2.8 การอภิปรายและสรุปผลการวิจัย เป็นการเชื่อมโยงผลการศึกษากับแนวคิดทฤษฎีหรืองานวิจัยต้องสรุปให้ชัดเจนว่าผลงานของตนไปสนับสนุนหรือโต้แย้งกับกับงานวิจัยอื่น เพียงใดอย่างไรและสรุปผลที่ได้จากการวิจัย

2.9 ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)

2.10 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ ที่ใช้สำหรับค้นคว้าอ้างอิง ประกอบบทความ ตามที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารนี้

 

การเขียนบรรณานุกรม

ใช้ระบบของ APA (the 6thedition) มีแบบแผนในการเขียน คือให้เรียงเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมด

ตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของรายการที่อ้างอิงโดยยึดวิธีการเรียงลำดับตามแบบพจนานุกรม