แบนเนอร์ นวัตกรรม

แบนเนอร์ นวัตกรรม

หลักการและเหตุผล

การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความร่วมมือวิชาการและวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ครั้งที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: “นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์”
Humanities and Social Sciences: "Innovation for the Creative Economy"     

 วันเสาร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

หลักการและเหตุผล

 

          “ประเทศไทย 4.0” เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่เน้นความ “มั่นคง
มั่งคั่ง และยั่งยืน” ประกอบด้วยภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศหลายด้าน เพื่อปรับแก้ จัดระบบ
ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาส และภัยคุกคามแบบใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 21 ได้ หนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลคือ มุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ ‘เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม’ (Value–Based Economy) เพื่อก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เมื่อบริบททางเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องปรับตัว
ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า
ไปสู่การเน้นภาคบริการมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถเติบโตท่ามกลางบริบทใหม่ และสามารถรับมือ
กับโอกาสและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

          ในด้านการศึกษานั้น รัฐบาลมีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยให้สามารถพัฒนาและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพิ่มแหล่งการเรียนรู้ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยี ต่อยอดและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในการสร้างความรู้และนวัตกรรม
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาไปสู่
การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา การวิจัยและพัฒนาในระดับภูมิภาคเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ยึดมั่นในแนวทางตามพระราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่เน้นย้ำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทำงานเพื่อยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น
จึงได้น้อมนำศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติทั้งในด้านการวิจัย การพัฒนา และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
ที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของท้องถิ่น กระตุ้นให้ทั้งทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญ
ของงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีฐานมาจากทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์
ผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน
อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยต่อยอดร่วมกันระหว่างนักศึกษากับคณาจารย์ ในการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารจัดการและการเพิ่มขีดความสามารถ
ในการผลิตและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ของชุมชนท้องถิ่น โดยการสนับสนุนองค์ความรู้ที่จำเป็น
ทั้งทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดดังกล่าวนี้เพื่อสร้างพื้นที่ของการนำคุณค่าจากทุนทางวัฒนธรรม ทรัพยากรทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มโอกาสในประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้เพื่อการแข่งขันในภาคเศรษฐกิจในทุกระดับ

จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ให้งานอันมีคุณค่าเหล่านี้ได้ไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  ได้จัดให้มีจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความร่วมมือวิชาการและวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ “นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ
เชิงสร้างสรรค์ Humanities and Social Sciences "Innovation for the Creative Economy"
เพื่อเป็นเวทีระดับชาติที่นำเสนอผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ผลงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ที่เชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทั้งในมิติ
เชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรมต่อไป

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม ความคิด
    และมุมมองด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เพื่อให้เกิดการพัฒนา
    การเรียนรู้ของประชาชนในท้องถิ่น
  2. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม น้อมนำแนวคิด
    ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้การมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย
    ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
  3. เพื่อพัฒนาอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีทักษะความรู้เปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี
    ด้านการทำงานวิจัยและการบริการวิชาการเพื่อรับใช้สังคม/ชุมชนมากขึ้น รวมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ในการ
    ขอตำแหน่งทางวิชาการได้
  4. เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงงานวิจัยของไทยที่มีศักยภาพ นำไปสู่กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ใช้ประโยชน์ ทั้งเชิงวิชาการ เชิงนโยบาย เชิงสังคมและชุมชน ในระดับประเทศและระดับสากล
  5. เพื่อเชิดชูและยกย่องนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่นทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

วัน เวลา

วันศุกร์ที่ 21 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 8:30 – 17:30 น.

 

สถานที่จัดประชุม

ณ อาคาร 19 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

รูปแบบการประชุม

  1. การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่น” โดยผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏและภาคีเครือข่าย
  3. การนำเสนองานวิจัย

 

หัวข้อในการประชุม

  1. ภาษา ภาษาศาสตร์ วรรณคดี วรรณกรรม คติชนวิทยาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารรัฐกิจ
  3. บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศศาสตร์
  4. การบริหารจัดการท่องเที่ยว การโรงแรม และนันทนาการ
  5. ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา สังคม วัฒนธรรม มานุษยวิทยา และพัฒนาชุมชน
  6. ดนตรี และศิลปกรรม

 

ปฏิทินการดำเนินการ

 

ประกาศ/รับสมัครบทคัดย่องานวิจัย 20 กันยายน 2562
วันสุดท้ายของการรับบทคัดย่องานวิจัย 5 ธันวาคม 2562
แจ้งผลการพิจารณาเพื่อนำเสนอแบบปากเปล่า 9 ธันวาคม 2562
ส่งบทความฉบับสมบูรณ์ 27 ธันวาคม 2562
ส่งผลการประเมินบทความวิชาการ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ผู้นำเสนอบทความ 24 มกราคม 2563
ผู้นำเสนอบทความส่งบทความที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 กุมภาพันธ์ 2563
การประชุมวิชาการและวิจัย 22 กุมภาพันธ์ 2563

 

การสมัคร

ผู้ที่มีความประสงค์ร่วมนำเสนอผลงาน หรือร่วมการประชุมวิชาการฯ สามารถลงทะเบียนสมัครได้ที่

เว็บไซต์ https://husoccon.snru.ac.th หรือ e-mail: husoccon@snru.ac.th

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ที่อยู่ 680 หมู่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000

โทรศัพท์/โทรสาร 0-4297-0214

 

ผู้ประสานงาน

อาจารย์ ดร.วินิธา  พานิชย์         โทรศัพท์มือถือ   08-1768-6816

อาจารย์นภาไล  ตาสาโรจน์        โทรศัพท์มือถือ   08-1060-3218

นางสาวภุลภญา  ศรีบุญธรรม     โทรศัพท์มือถือ   06-3625-5597

e-mail : husoccon@snru.ac.th หรือที่ website :https://husoccon.snru.ac.th